การต่อวงจรไฟฟ้า


1 รูปแบบของวงจรไฟฟ้าภายในบ้าน
วงจรไฟฟ้าภายในบ้าน หมายถึง ทางเดินของกระแสไฟฟ้าที่จะไหลไปตามส่วนต่าง ๆ ของวงจรที่เป็นตัวนำ
.......... การต่อวงจรไฟฟ้าในบ้าน หมายถึง การต่อความต้านทาน ซึ่งมีอยู่ 3 แบบ คือ
.......... 1.1 การต่อความต้านทานแบบอันดับ หรือแบบอนุกรม
..................... เป็นการต่อความต้านทานเรียงกันไปตามลำดับ โดยที่ปลายสายของความต้านทานหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า (หลอด) ของตัวที่หนึ่งต่อกับต้นสายของ
ความต้านทานหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า (หลอด) ของตัวที่สอง และอีกปลายหนึ่งของความต้านทานหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าตัวที่สองต่อกับต้นสายของความต้านทาน หรือ
อุปกรณ์ตัวที่สามเรียงต่อกันไปอย่างนี้จนครบวงจร







1.3 การต่อความต้านทานแบบผสม .........เป็นการต่อความต้านทานที่มีทั้ง 2 แบบในวงจรเดียวกัน



2. อุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านที่จำเป็น
.....2.1 อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ภายในบ้าน
................2.1.1 เต้าเสียบ หรือเต้ารองรับ เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้เป็นจุดต่อของวงจรอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน เพื่อความสะดวกในการใช้งาน
เต้าเสียบที่ใช้ในบ้านเราจะมี 2 ช่อง แต่เต้าเสียบที่จะช่วยให้เกิดความปลอดภัยมากคือ เต้าเสียบแบบ 3 ช่อง เพราะช่องที่ 3 จะต่อกับสายดิน ซึ่งจะช่วย
ให้เกิดความปลอดภัยในการใช้งาน







..............ลูกเสียบนี้จะต่อกับปลายสายไฟฟ้าที่ต่อเข้าอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ จะต้องต่อสายไฟเข้าขั้วต่อสายอย่างแข็งแรงและถูกต้องตามวิธี คือ ภายใน
จะต้องผูกปมอย่างถูกวิธี
...............2.1.3 สวิตช์ไฟฟ้า.... เป็นอุปกรณ์สำหรับปิด-เปิดวงจรไฟฟ้า สวิตช์ไฟฟ้าที่ใช้ตามบ้านมีหลายแบบ ขึ้นอยู่กับบริษัทที่ผลิต
แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ แบบฝัง (ใช้ฝังในผนัง) แบบที่ 2 แบบไม่ฝัง หรือเรียกว่า แบบลอย (Surface Switches) คือ ติดตั้งบนผนัง นิยม
ใช้ในอาคาร ตามชนบททั่วไป เพราะราคาถูกและติดตั้งง่ายกว่าแบบฝัง

คุณสมบัติของวงจรแบบอันดับหรืออนุกรม

1. กระแสไฟฟ้าไหลผ่านความต้านทานแต่ละตัวมีค่าเท่ากัน

2. แรงดันกระแสไฟฟ้าของวงจรทั้งหมดเท่ากัน แรงดันกระแสไฟฟ้าตกคร่อมของแต่ละความต้านทานรวมกัน
1.2 การต่อความต้านทานแบบขนาน
......... การต่อความต้านทานแบบขนาน เป็นการต่อสายของความต้านทานแต่ละตัวไว้ที่เดียวกัน และปลายสายอีกด้านหนึ่งต่อร่วมกันไว้ที่เดียวกัน
คุณสมบัติของการต่อวงจรแบบขนาน

1. ความต้านทานแต่ละตัวได้รับแรงดันกระแสไฟฟ้าเท่ากัน
2. กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านความต้านทานแต่ละตัวมีค่าไม่เท่ากัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้านทานนั้น ๆ คือ ถ้ามีความต้านทานมาก
....กระแสไฟฟ้าจะไหลได้น้อย ถ้ามีความต้านทานน้อยกระแสไฟฟ้าจะไหลได้มาก
3. ผลรวมของกระแสไฟฟ้าที่แยกไหลผ่านแต่ละความต้าน เมื่อรวมกันแล้วจะเท่ากับกระแสไฟฟ้าของวงจร
4. ความต่างศักย์ไฟฟ้าบนความต้านทานแต่ละเส้น จะมีค่าเท่ากัน และเท่ากับความต่างศักย์ไฟฟ้ารวมทั้งวงจร
วงจรไฟฟ้าภายในบ้านนิยมแบบขนาน เนื่องจากถ้ามีอุปกรณ์ไฟฟ้าตัวใดตัวหนึ่งขาด อุปกรณ์ไฟฟ้าที่เหลือก็จะใช้งานได้


1.4 แผนผังการต่อวงจรไฟฟ้าในบ้าน ......การต่อไฟฟ้าในบ้านเริ่มต้นจากสายไฟฟ้าใหญ่ลงมาที่มาตรไฟฟ้าจากมาตรไฟฟ้าต่อเข้า
...........คัตเอาท์และฟิวส์ สายที่ต่อจากฟิวส์เป็นสายประธาน ซึ่งสามารถต่อแยกไปยังส่วนต่าง ๆ ของอาคารได้


2.1.2 ลูกเสียบ (ปลั๊กเสียบ).... เป็นอุปกรณ์ที่ต่อกับสายของเครื่องใช้ไฟฟ้า มี 2 แบบ คือ ลูกเสียบแบบ 2 ขา ซึ่งจะใช้กับเต้าเสียบ 2 ช่อง
กับลูกเสียบแบบ 3 ขา ซึ่งจะใช้กับเต้าเสียบที่มี 3 ช่อง



.........การต่อสวิตช์ไฟฟ้าจำเป็นต้องต่อให้ถูกวิธี คือ จะต้องต่อสายมีไฟเข้าสวิตช์ เพราะเมื่อปิดไฟ (Close switch) แล้วสามารถซ่อมหรือแก้ไขหลอดไฟ
ได้อย่างปลอดภัย




....2.2 เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน

.................เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านมีหลายประเภททั้งที่ให้แสงสว่าง ความร้อน และประเภทที่ใช้มอเตอร์ อุปกรณ์ไฟฟ้าแต่ละอย่างจะมีวิธีใช้และการบำรุง
รักษาที่แตกต่างกัน ดังนั้น ผู้ใช้จะต้องรู้จักวิธีใช้อย่างถูกต้องปลอดภัย ประเภทของเครื่องใช้ไฟฟ้า มีดังนี้

.................... 2.2.1 เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทให้ความร้อนที่ควรรู้จัก คือ

................................. 1) เตารีดไฟฟ้า เตารีดไฟฟ้ามีหลายแบบ แบบที่นิยมใช้คือ แบบปรับความร้อนโดยอัตโนมัติธรรมดา และแบบปรับความร้อน
อัตโนมัติมีไอน้ำ


........ส่วนประกอบของเตารีดไฟฟ้า แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ

.......... 1. ส่วนที่ให้ความร้อน ประกอบด้วย ลวดนิโครม ซึ่งเป็นโลหะผสมระหว่างนิกเกิลกับโครเมียม ซึ่งเป็นโลหะที่มี
ความต้านทานสูง และจุดหลอมเหลวสูงเป็นตัวจ่ายความร้อน และแผ่นไมก้า ซึ่งเป็นฉนวนความร้อน

...........2. ส่วนที่ควบคุมความร้อน หรือที่เราเรียกว่า เทอร์โมสตาร์ต ประกอบด้วยโลหะที่มีความจุความร้อนต่างกัน 2 แผ่น ประกบ
ติดกัน เมื่อได้รับความร้อนเท่ากัน การขยายตัวจะต่างกัน ทำให้แผ่นโลหะโค้งขึ้น วงจรปิด กระแสไฟฟ้าไม่ไหลผ่าน เมื่ออุณหภูมิลดลง
แผ่นโลหะก็จะกลับเหมือนเดิม วงจรเปิด กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ ซึ่งการทำงานจะเป็นดังนี้ตลอดการใช้งาน



2.2.2 หม้อหุงข้าวไฟฟ้า มีหลายแบบแตกต่างกันไปตามบริษัทผู้ผลิต ส่วนประกอบของหม้อหุงข้าวไฟฟ้า มีดังนี้

หลักในการทำงาน
...............หม้อหุงข้าวไฟฟ้าประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ

- ส่วนที่ให้ความร้อน ประกอบไปด้วยแผ่นโลหะที่มีความต้านทานสูง และจุดหลอมเหลวสูง

- ส่วนควบคุมอุณหภูมิหรือเทอร์โมสตาร์ต ประกอบด้วยโลหะที่มีความจุความร้อนต่างกัน 2 แผ่นประกบติดกันอยู่

............... การทำงานเมื่อปล่อยกระแสไฟฟ้าผ่านเข้าไปในหม้อหุงข้าว ไฟฟ้าจะทำให้แผ่นความร้อนส่งผ่านพลังงานความร้อนไปยังหม้อใน และเมื่อ
อุณหภูมิสูงจนถึงที่กำหนดไว้ เทอร์โมสตาร์ตก็จะตัดวงจร ทำให้ไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลในวงจรที่ผ่านแผ่นความร้อน

....2.3 เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทใช้มอเตอร์ 

.....................2.3.1 พัดลมไฟฟ้า พัดลมไฟฟ้ามีหลายแบบ หลายบริษัทผู้ผลิต เช่น แบบตั้งโค๊ะ แบบตั้งพื้น แบบโคจร เป็นต้น





....2.4 เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทให้แสงสว่าง ไฟฟ้าแสงสว่างที่นิยมใช้ในบ้านพักอาศัยมีอยู่ 2 แบบ คือ

...................... 2.4.1 หลอดชนิดไส้ (Incandescent Lamp) หมายถึง หลอดไฟฟ้าที่ไส้หลอดทำด้วยโลหะทังสเตนภายในเป็นสูญญากาศ การใช้
จะต้องเสียบลงในขั้วหลอด ซึ่งมีทั้งแบบเกลียว และแบบเขี้ยว หลอดไฟฟ้าขนาดต่าง ๆ บอกกำลังไฟฟ้าเป็นวัตต์




......................2.4.2 หลอดวาวแสงหรือหลอดฟลูออเรสเซนต์ ....เป็นหลอดมีไส้อีกชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยส่วนสำคัญ คือ รางหลอด ขั้วหลอด
บัลลาสต์ และสตาร์ตเตอร์สวิตช์ ซึ่งต่อเป็นวงจร


1) บัลลาสต์ เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของหลอดวาวแสง เพราะเป็นตัวจำกัดกระแสไฟฟ้า ทำให้หลอดมีอายุยืน มีขนาด
40 วัตต์ 32 วัตต์ (สำหรับหลอดกลม) และ 20 วัตต์ ปัจจุบันมีนโยบายประหยัดพลังงาน บริษัทได้ผลิตบัลลาสต์ชนิดประหยัด
พลังงานไฟฟ้า เรียกว่า โลลอสบัลลาสต์” (Low Loss Ballast) เป็นบัลลาสต์ที่มีการสูญเสียกำลังงานไฟฟ้าต่ำกว่าบัลลาสต์
ธรรมดา เป็นการประหยัดไฟฟ้าได้ 4 - 6 วัตต์ต่อ 1 หลอด คิดเป็น 40 เปอร์เซนต์ของบัลลาสต์แบบเดิม


......2) สตาร์ตเตอร์ เป็นอุปกรณ์ประกอบวงจรหลอดวาวแสง ขาหลอดจะออกแบบไว้ใส่สตาร์ตเตอร์ โดยเฉพาะสตาร์ตเตอร์มี
หน้าที่ต่อวงจร เพื่ออุ่นไส้หลอดเกิดอิเล็กตรอนไหลในหลอด แล้วสตาร์ตเตอร์จะตัดวงจรโดยอัตโนมัติโดยอาศัยหลักการขยายตัวของ
โลหะต่างชนิดกัน เรียกว่า แผ่นไบเมทอล (Bimetallic strip)




การทำงานของหลอดไฟฟ้า

............. ภายในหลอดฟลูออเรสเซนต์ สูบอากาศออกให้เหลือความดันประมาณ 1/6 ของบรรยากาศ แล้วหยดไอปรอทลงไป ผนังหลอด
ฉาบสารเรืองแสง (ฟลูออ) เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านวงจรผ่านบัลลาสต์ จะทำให้เกิดแรงดันกระแสไฟฟ้าสูง อิเล็กตรอนจะหลุดออกจาก
ไส้หลอดด้านหนึ่งผ่านหลอดไปยังอีกขั้วหลอดที่อยู่ตรงข้าม ซึ่งช่วงนี้บัลลาสต์จะลดแรงดันกระแสไฟฟ้าลง สตาร์ตเตอร์สวิตช์ก็เปิดวงจร
ไฟฟ้า ขณะที่อิเล็กตรอนผ่านและชนโมเลกุลของไอปรอท ทำให้เกิดแสงอัลตราไวโอเลต ซึ่งทำให้เกิดการเรืองแสงในหลอด

หลอดวาวแสงหรือหลอดฟลูออเรสเซนต์

............. มีขนาดต่าง ๆ เช่น 20 วัตต์ 32 วัตต์ และ 40 วัตต์ ปัจจุบันบริษัทผู้ผลิตได้คิดประดิษฐ์หลอดไฟฟ้าแบบประหยัดขึ้นเพื่อโครงการ
ประหยัดพลังงานคือ

1. หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ (หลอดตะเกียบ)

2. หลอดประหยัดไฟฟ้า (แบบผอม) ขนาด 18 วัตต์ แทนหลอดไฟฟ้าขนาด 20 วัตต์ (แบบอ้วน) ซึ่งประหยัดไฟฟ้า 2 วัตต์ คิดเป็น
..... 10 เปอร์เซนต์ของหลอดอ้วน (20 วัตต์) ซึ่งให้แสงสว่างเท่ากัน

3. หลอดประหยัดไฟ 36 วัตต์ (หลอดผอม) แทนหลอดไฟฟ้าแบบอ้วน (40 วัตต์) ประหยัดไฟฟ้า 4 วัตต์ คิดเป็น 40 เปอร์เซนต์
..... ของหลอดอ้วน (40 วัตต์) ซึ่งให้แสงสว่างเท่ากัน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น