หลังจากนั้นทำการจำลองการทำงาน (Simulate) เพื่อดูผลการทำงาน โดยจะมีผลการจำลองการทำงานดังรูปที่ A1.5(c)
รูปที่ A1.5(a) วงจร Decode 2 line to 4 line
รูปที่ A1.5(b) สัญลักษณ์ของวงจร Decode 2 line to 4 line
รูปที่ A1.5(c) ผลการจำลองการทำงาน
5.ประกอบวงจรต่างๆเข้าด้วยกันเป็นวงจรนับ 0 – 9999
หลังจากออกแบบวงจรต่างๆ เสร็จเรียบร้อยแล้ว เราจะต้องนำสัญลักษณ์ของวงจรเหล่านั้นมาประกอบเป็นวงจรนับจำนวนเพื่อแสดงผลตัวเลขตั้งแต่ 0 ถึง 9999 ดังรูปที่ A1.6
รูปที่ A1.6(a) วงจรนับจำนวน 0 – 9999
รูปที่ A1.6(b) สัญลักษณ์ของวงจรนับจำนวน 0 – 9999
รูปที่ A1.6(c) ผลการจำลองการทำงาน
เมื่อวาดรูปวงจรนับ 0 – 9999 ในรูปที่ A1.6(a) เรียบร้อยแล้ว ทำการบันทึกเป็นไฟล์ชื่อ Count9999.gdf และสร้างเป็นสัญลักษณ์ของวงจรนับ 0 – 9999 จะได้สัญลักษณ์ดังรูปที่ A1.6(b) หลังจากนั้นทำการจำลองการทำงานของวงจรนับ 0 – 9999 จะได้ผลการจำลองการทำงานดังรูปที่ A1.6(c)
ทดสอบการทำงานจริง
สำหรับการทดสอบการทำงานของวงจรนับ 0 – 9999 ทีได้ออกแบบมานั้น วงจรสำหรับทดสอบการทำงานแสดงดังรูปที่ A1.7
รูปที่ A1.7 วงจรทดสอบการทำงานของวงจรนับ 0 – 9999
จากวงจรในรูปที่ A1.7 ในส่วนของ CPLD จะใช้โมดูล CPLD รุ่น Ezy PLD-DEV02 ซึ่งภายในโมดูล Ezy PLD-DEV02 จะใช้ CPLD เบอร์ EPM3064ALC44-10 ส่วน OSC1 เป็นโมดูลออสซิเลเตอร์ทำหน้าที่ในการกำเนิดสัญญาณคล็อกให้แก่ Ezy PLD-DEV01 ซึ่งสัญญาณคล็อกนี้จะใช้กับวงจร Multiplexers เพื่อเป็นการเลือกข้อมูลจากวงจร Decade Counter เพื่อเสดงผลออกที่ 7 เซ็กเมนต์ต่อไป รายละเอียดดังที่กล่าวมาแล้วในขั้นตอนการออกแบบวงจร Multiplexers ซึ่งความถี่ที่โมดูลออสซิเลเตอร์ผลิตออกมานั้นจะมีความถี่ 9.6 MHz หากเรานำความถี่นี้ป้อนเข้าวงจร Multiplexers โดยตรงจะทำให้มีการ Multiplex ข้อมูลด้วยความเร็วสูง ทำให้การแสดงผลตัวเลขเร็วมากจนอาจมองเห็นว่า 7 เซ็กเมนต์ทุกตัวสว่างเหมือนกัน ดูไม่ออกว่าเป็นตัวเลขอะไร เพราะฉนั้นเราจะต้องทำการหารความถี่จาก 9.6 MHz ลงมาให้เหลือความถี่ที่เหมาะสมกับการแสดงผลตัวเลขที่ 7 เซ็กเมนต์ 4 หลัก สำหรับการทดสอบวงจรนับ เราจะทำการเพิ่มวงจรหารความถี่ดังรูปที่ A1.8
รูปที่ A1.8 วงจรทดสอบการทำงานของวงจรนับ 0 – 9999
ในส่วนของวงจรหารความถี่ที่เพิ่มเข้ามาจะใช้ไอซี 74393 ซึ่งทำหน้าที่เป็นวงจรนับแบบไบนารี่ 4 ชุดมาต่อเข้าด้วยกัน เอาท์พุทของวงจรหาร สัญญาณความถี่ทางอินพุทที่ป้อนเข้ามาจะถูกหารด้วย จะทำให้ได้สัญญาณคล็อกที่ป้อนให้แก่ ขา CLK ของวงจร Count9999 เท่ากับ 9.6 MHz / = 585.9375 Hz ซึ่งเมื่อนำไปทำการ Multiplexers เพื่อส่งข้อมูลให้แก่ 7 เซ็กเมนต์ทั้ง 4 หลัก จะทำให้ 7 เซ็กเมนต์ในแต่ละหลักแสดงผลข้อมูลด้วยความเร็วประมาณ 585.9375 / 4 = 146.484375 Hz ด้วยความเร็วในการแสดงผลระดับนี้จะทำให้เราเห็นตัวเลขในแต่ละหลักชัดเจนและไม่กระพริบ
เมื่อวาดวงจรในรูปที่ A1.8 เสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ทำการบันทึกเป็นไฟล์ชื่อ t_count9999.gdf ทำการตรวจสอบความถูกต้องของวงจรที่วาด หลังจากนั้นกำหนดเบอร์ CPLD ที่จะใช้เป็น EPM3064ALC44-10 ทำการคอมไพล์ และกำหนดตำแหน่งขาที่จะใช้งานดังตารางที่ A1.3
ตารางที่ 1.3 การจัดตำแหน่งขาของ CPLD
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น